Welcome to The Official Website of The National Y2K Coordination Committee
Y2K Newsletter
NEWS

โรงพยาบาลทั่วประเทศงัดแผนฉุกเฉินรองรับปัญหา Y2K
สร้างความมั่นใจปลอดภัยให้ผู้รับบริการ

โลโก้ กท.สาธารณสุข> 

<P>         กระทรวง<WBR>สาธารณ<WBR>สุข<WBR>เผย<WBR>โรง<WBR>พยา<WBR>บาล<WBR>ทุก<WBR>แห่ง<WBR>มี<WBR>แผน<WBR>ฉุก<WBR>เฉิน<WBR>พร้อม<WBR>รับ<WBR>ปัญหา<WBR> Y2K<WBR> ใน<WBR>ปี<WBR> 2000<WBR> สามารถ<WBR>แก้<WBR>ไข<WBR>ปัญหา<WBR>ต่างๆ<WBR> เพื่อ<WBR>สร้าง<WBR>ความ<WBR>มั่น<WBR>ใจ<WBR> และ<WBR>ความ<WBR>ปลอด<WBR>ภัย<WBR>แก่<WBR>ประชา<WBR>ชน<WBR>ผู้<WBR>มา<WBR>รับ<WBR>บริการ<WBR>พร้อม<WBR>ตั้ง<WBR>ทีม<WBR>เฉพาะ<WBR>กิจ<WBR>แก้<WBR>ปัญหา<WBR> Y2K <WBR> ตลอด<WBR> 24<WBR> ชั่วโมง<WBR> ตั้ง<WBR>แต่<WBR>คืน<WBR>วัน<WBR>ที่<WBR> 31<WBR> ธันวาคม<WBR> 1999<WBR> จน<WBR>ถึง<WBR>วันที่<WBR> 2<WBR> มกราคม<WBR> ปี<WBR> 2000
<BR CLEAR=

         นายแพทย์วีระ อิงคภาสกร ผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค ประธานเปิดการประชุมการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมฉุกเฉินเพื่อรองรับปัญหา Y2K ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ปี ค.ศ. 2000 อาจจะมีผลกระทบต่อเครื่องมือแพทย์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่ใช้ตามโรงพยาบาลต่างๆ หลายฝ่ายเกรงจะมีอันตรายกับผู้ป่วย ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการแก้ไขจะส่งผลต่อเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องหยุดการทำงาน มีการทำงานผิดปกติ เครื่องแปรปรวน เป็นต้น ในเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนรองรับแก้ปัญหา Y2K และแนวทางการแก้ไขทั้งเครื่องมือสารสนเทศ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ระบบบริการของโรงพยาบาลสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด ผลจากการสำรวจและแก้ไขในเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ต่างๆ ในโรงพยาบาลทั่วประเทศมีปัญหาไม่ถึง 5% ปัญหาส่วนใหญ่คือ การแสดงวันที่ผิด หรือคำนวณวันที่ผิด ซึ่งกระทรวงฯ ได้ให้แนวทางแก้ไขไปแล้ว

         นายแพทย์วีระ กล่าวว่า นอกจากทางกระทรวงสาธารณสุขได้แก้ปัญหากับเครื่องมือต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงสู่ปี 2000 แล้วยังได้เตรียมแผนฉุกเฉินหากเกิดปัญหาจากระบบสาธารณูปโภคเกิดขัดข้อง เช่น ไฟฟ้าดับ ระบบการสื่อสารขัดข้อง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณะกรรมการแก้ไขปัญหา Y2K ของกระทรวงสาธารณสุขจึงมอบหมายให้กองโรงพยาบาลภูมิภาคและกรมการแพทย์จัดประชุมทำแผนฉุกเฉินรองรับปัญหา Y2K แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศในสังกัดโดยแบ่งการประชุมเป็น 5 รุ่น รุ่นแรกจัดที่จังหวัดสระบุรี รุ่นที่ 2 จัดที่จังหวัดสงขลา รุ่นที่ 3 จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ รุ่นที่ 4 จัดที่จังหวัดขอนแก่น รุ่นที่ 5 จัดที่จังหวัดชลบุรี โดยจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ในการประชุมจะมีการจำลองสถานการณ์เกิดเหตุการขัดข้องในรูปแบบต่างๆ ในหน่วยงานของโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤต เช่น ห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู ห้องคลอด ห้องผ่าตัด หากเกิดปัญหา เช่น ไฟฟ้าดับทำให้เครื่องช่วยเหลือผู้ป่วยหยุดการทำงานเจ้าหน้าที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร เพื่อจะได้ดูว่าแผนฉุกเฉินใช้ได้ดีหรือไม่หากไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะมีแผนฉุกเฉินสำรองมาแก้ไขต่อไปเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและปลอดภัยต่อระบบการให้บริการให้ทำงานต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเป็นแนวทางให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปจัดทำแผนฉุกเฉินแก้ไขปัญหาของโรงพยาบาล ต่อไป

         นอกจากนี้ยังได้ซ้อมแผนฉุกเฉินรับสถานการณ์ Y2K ในห้องผ่าตัดและห้องไอซียูที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เป็นการซักซ้อมเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ให้ทำงานด้วยความมั่นใจที่สำคัญต้องมีแนวทางชัดเจนเพื่อให้ระบบการบริการต่อเนื่องผู้ป่วยปลอดภัยที่สุด

         นายแพทย์สุจริต ศรีประพันธ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางชมการซ้อมแผนฉุกเฉินรองรับปัญหา Y2K ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยจำลองสถานการณ์ที่ห้องผ่าตัด และห้องไอซียู เจ้าหน้าที่กำลังทำงานเป็นเวลาเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 จากนั้นเข้าสู่ปี ค.ศ. 2000 ขณะเดียวกันสมมุติให้เกิดไฟฟ้าขัดข้องทำให้เครื่องมือแพทย์หยุดทำงานทันที ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ จึงเป็นช่วงที่เจ้าหน้าที่ต้องเร่งช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อนที่ไฟฟ้าสำรองจะทำงาน โดยทุกคนจะต้องทำงานเป็นระบบให้ความสำคัญกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากที่สุดจนเสี่ยงน้อยที่สุด และเมื่อไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติจะต้องดูแลผู้ป่วย และตรวจเช็คการทำงานของเครื่องมือแพทย์ให้ทำงานอย่างปกติ หากผิดปกติจะต้องมีแนวทางแก้ไข หากไฟฟ้าสำรองไม่ทำงานทางโรงพยาบาลจะต้องมีแนวทางแก้ไข ซึ่งทุกโรงพยาบาลจะต้องมีแผนฉุกเฉิน และแผนสำรอง 1, 2 และ 3 หากไม่สามารถแก้ไขได้ทางส่วนกลางได้วางระบบมีหน่วยงานให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง

         สำหรับความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา Y2K ของกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วีระ กล่าวว่า มีความก้าวหน้ามาก และได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ในโรงพยาบาลครบทุกแห่งแล้วมีการจัดตั้งคณะกรรมการ 3 คณะ เพื่อทำการประเมินปัญหาในเรื่องอุปกรณ์สารสนเทศรวมทั้งคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน เครื่องมือทั่วไป และเครื่องมือแพทย์ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการแก้ไขปัญหา Y2K ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน นอกจากควบคุมดูแลแก้ไขปัญหา Y2K ในระดับประเทศต่อไปด้วย

         นอกจากนี้ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งทีมเฉพาะกิจที่ศูนย์เรนทรฯ เป็นศูนย์ประสานงานฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหา Y2K เพื่อให้คำแนะนำปรึกษากับโรงพยาบาลต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหาต้องการขอความช่วยเหลือ รวมทั้งส่งทีมด่วนไปช่วยเหลือยังที่เกิดเหตุด้วย โดยทีมเฉพาะกิจชุดนี้จะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนถึงวันที่ 2 มกราคม 2543 หรือเปลี่ยนปี ค.ศ. 2000 เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้มาใช้บริการ

สรุปความก้าวหน้า

line.GIF (5301 bytes)

[Y2K Center] [Y2K FAQ] [Y2K Services] [Y2K Tools] [Newsroom] [Publication] [Feedback]

Please send your comment to y2kcenter@nectec.or.th
Copyright ฉ 1998 NECTEC / NSTDA All Rights Reserved.
National Electronics and Computer Technology Center, National Science and Technology Development Agency.
Ministry of Science Technology and Environment