คำถาม คำตอบ จากการสัมมนา
เรื่อง "การบริหารโครงการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000
: วิกฤติทรัพยากร Y2K"
ณ ห้องสัมมนาตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2542
Session 2 :
การจัดทำแผนฉุกเฉินของระบบงานที่มีปัญหาและกรณีศึกษา
ผู้ตอบ : คุณมานิต จิตวัฒนากร
กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
ถาม :
การจ่ายเงินเดือน จะทำอย่างไร ถ้าแก้ไขปัญหา Y2K ไม่สำเร็จ
ตอบ :
โดยปกติธนาคารกรุงไทย จะจ่ายเงินเดือน ตั้งแต่วันที่ 27
และธนาคารมีแผนงาน ที่จะประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้า พยายามหลีกเลี่ยงวันทำการแรกของปี
ค.ศ. 2000 คือ Transaction ที่จะลงในวันที่ 3 หรือ 4
มกราคม ปี ค.ศ. 2000 ได้ให้สาขาแนะนำลูกค้า ให้เลื่อนการทำ
Transaction นั้นเข้ามา หรือเลื่อนออกไป สำหรับเรื่องเงินเดือนไม่น่าจะมีปัญหา
เนื่องจากเงินเดือนของเดือนธันวาคม ก็จะออกก่อนสิ้นปีอยู่แล้ว
ส่วนเงินเดือนของเดือนมกราคม ก็ผ่านต้นปี ค.ศ. 2000 ไปแล้ว
ถาม :
หน่วยงานที่โอนเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยด้วย Software
ของธนาคาร (หน่วยงานเพียงแต่ Key ข้อมูลส่งทาง Diskette)
และส่งข้อมูลมาที่ธนาคาร ระบบก็จะโอนฝากเงินเดือนให้
อยากทราบว่า Software นี้จะมีปัญหา Y2K หรือไม่ ?
ตอบ :
ขั้นตอนมีดังนี้
- Software ที่ธนาคารส่งให้หน่วยงานใช้ Key ข้อมูลเงินเดือนส่งมาให้ธนาคาร
ได้รับการทดสอบว่าเป็น Y2K Ready อยู่แล้ว
- เมื่อธนาคารรับข้อมูลจากหน่วยงาน ระบบงานฝากเงินเดือนทำการเช็ค
Process date ใน File ที่รับมาว่า ตรงกับวันที่ของระบบหรือไม่
ถ้าตรงกับวันที่ของระบบ ก็จะโอนเงินให้
- ระบบงานดังกล่าวทั้ง 2 ระบบ ไม่มีปัญหา Y2K อยู่เดิมแล้ว
ธนาคารไม่ได้ทำการแก้ไขใดๆ เกี่ยวกับวันที่เลย
- แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ทำการทดสอบทั้ง 2 ระบบงานดังกล่าวข้างต้น
ตามขั้นตอนของธนาคารโดยผู้ชำนาญการ เพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
โดยสรุป ระบบงานโอนเงินเดือนของธนาคารเป็น Y2K Ready
ดังนั้น ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่า ถ้าลูกค้าส่งวันที่ที่ถูกต้องมา
การจ่ายเงินเดือน ก็จะเป็นไปตามปกติ แต่ถ้าวันที่ที่ส่งมาใน
Diskette ผิด ระบบจะทำการปฏิเสธข้อมูลที่ผิดนั้น ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติในปัจจุบันของระบบงานผ่านเงินเดือนอยู่แล้ว
ถาม :
แม้ว่าธนาคารต่างๆ จะดำเนินการแก้ไขปัญหา Y2K เรียบร้อยแล้ว
แต่เชื่อว่าในช่วงใกล้วันสิ้นปี ค.ศ. 1999 จะมีลูกค้าจำนวนมากไปทำธุรกรรม
ถอนเงินมาสำรองไว้มากกว่าปกติอย่างแน่นอน ทางธนาคารกรุงไทยมีการเตรียมการรับมือในส่วนนี้ไว้อย่างไร? เพื่อไม่ให้เกิดความโกลาหลขึ้น และมีคำแนะนำอย่างไรแก่ลูกค้า
ตอบ :
ธนาคารอยู่ได้เพราะความเชื่อมั่น เห็นด้วยที่คนอาจจะถอนเงิน
เพื่อเก็บไว้มากขึ้น โดยได้มีการเตรียมแผนฉุกเฉิน คือ
ธนาคารกรุงไทย ได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าอาจจะจำเป็นต้องมีเงินหมุนเวียนในตลาดมากกว่าปกติในช่วงนั้น
เนื่องจากมีคนจำนวนหนึ่งที่มีความกังวล
ถาม :
"Panic Control" (สำหรับงานบริการ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Contingency Plan ด้วยหรือไม่ ?
ตอบ :
สิ่งที่ธนาคารจะทำ คือให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อที่จะให้ความรู้ต่อไปยังลูกค้า
โดยธนาคารกรุงไทยได้มีการจัดสัมมนาไปแล้ว 2-3 ครั้ง เพื่อให้ความรู้แก่ลูกค้าโดยตรง
สำหรับ Panic Control เป็นข้อแนะนำที่ดี สิ่งที่ได้เตรียมการอยู่ขณะนี้
คือ ให้ความรู้ และให้พนักงานทราบว่า จะดำเนินการอย่างไร
ในกรณีที่ระบบทำงานไม่ได้ โดยมีศูนย์ข้อมูลและมีทีมที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา
สำหรับPanic Control คงจะต้องกลับไปคิดต่อว่าจะดำเนินการอย่างไร
ผู้ตอบ : คุณไชยเจริญ อติแพทย์
ผู้อำนวยการศูนย์ระบบสารสนเทศ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ถาม :
โรงกลั่น 2 โรงที่มีข่าวว่าจะปิด เนื่องมาจากผลกระทบของปัญหา Y2K ใช่หรือไม่ ?
ตอบ :
ไม่ได้เกิดจากปัญหา Y2K แต่เป็นเหตุผลทางธุรกิจ ทั้ง 2 โรงงานพบว่ามีปัญหา Y2K และอยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหา
ผู้ตอบ : นพ.ณรงค์ กษิติประดิษฐ์
ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ถาม :
โรงพยาบาลมีเครื่องมือไม่ถึง 1% ที่มีปัญหา ถ้าเด็กเกิดใหม่ตัวเล็กต้องเข้าตู้อบ จะเกิดปัญหาหรือไม่?
ตอบ :
กรณีตู้อบในเด็กแรกเกิด ได้มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่เกิดปัญหา
ตู้อบประเภท Incubator ที่อาจจะเกิดปัญหาจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในด้านการเพาะเชื้อ
ถาม :
อุปกรณ์ 37 ชิ้น ที่มีปัญหา จะก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ หรือไม่? และอุปกรณ์ที่เหลือ (นอกจากที่ยังไม่ได้คำตอบ) ไม่มีปัญหา Y2K เลย หรือมีปัญหาเล็กน้อยแต่ยังสามารถใช้งานได้?
ตอบ :
เท่าที่พบจะเป็นเรื่องของการแสดงวันที่ผิด ส่วนปัญหาในเรื่อง
Monitor หลังจากที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจะต้องทำ
Mapping ของเครื่องมือว่าชิ้นไหนเป็นเครื่องที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาที่กระจายอยู่ภายในโรงพยาบาลต่างๆ และแจ้งให้โรงพยาบาลที่มีปัญหาทราบเพื่อที่จะได้เปลี่ยนเครื่องที่ไม่มีปัญหามาแทน
หรืออาจย้ายคนไข้ไปใช้เครื่องที่ไม่มีปัญหา ในขณะที่การ
Mapping ยังทำไม่ได้หมดทุกโรงพยาบาล เนื่องจากกำลังรอการวิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด แต่ในขณะนี้มีความมั่นใจว่าเครื่องมือจะไม่เกิดปัญหา
ถาม :
การสำรวจอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการตรวจสอบ/ทดสอบ Y2K เพียงแค่ 3 โรงพยาบาล จะสามารถ Assume ได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ของโรงพยาบาลอื่นๆ
ทั่วประเทศ จะไม่มีปัญหาด้วย?
ตอบ :
ข้อมูลของโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งเป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์ในรายละเอียด
(Detail Analysis) เพื่อเป็นการยืนยันความมั่นใจ จากสิ่งที่มีอยู่ว่าปัญหาไม่ร้ายแรงมากนัก
ส่วนอุปกรณ์ที่ได้ข้อมูลมาแล้ว 30,000 กว่าชิ้น เป็นข้อมูลซึ่งวิเคราะห์ได้
และอย่างน้อยที่สุด จากการตรวจสอบแล้ว พบว่ากลุ่มที่คาดว่าจะมีปัญหา ในกลุ่มเครื่องมือช่วยชีวิต
เช่น เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องอบเด็ก, เครื่องดมยาสลบ
ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และหลังจากที่ได้งบประมาณ จากสำนักงบประมาณแล้ว จะทำ
Detail Analysis และ Upgrade Hardware และ Software ของเครื่องมือที่มีปัญหาทั้งหมด
ถาม :
จากที่ท่านบอกว่าปัญหา Y2K มีผลกระทบกับ Monitor ในโรงพยาบาลนั้น
อยากทราบว่า Monitor เหล่านั้นเป็นอุปกรณ์เฉพาะ หรือ
รวมถึง Monitor ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC?
ตอบ :
Monitor ที่กล่าวถึงเป็นประเภท Bed Side Monitor และเป็น
ECG Monitor ที่อยู่ในห้อง ICU ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ
เช่น เครื่อง ECG โดยได้ทำการตรวจสอบแล้ว จะเป็นการแสดงปี ค.ศ.ผิดเท่านั้น
ถาม :
อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ไม่ผ่าน Y2K แต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค / อาการของผู้ป่วย
เช่น เครื่องเอกซเรย์ จะแก้ปัญหาอย่างไร?
ตอบ :
การแก้ไขขั้นต้น จะเป็นเพียงการชี้แจงให้แพทย์ และผู้ปฎิบัติงานได้ทราบ
โดยให้ติด Sticker บนแผ่นฟิล์มในส่วนของปี ค.ศ. ให้ถูกต้อง
การใช้งานส่วนอื่นๆ ไม่มีปัญหาในส่วนของการแสดงภาพ
ส่วนการแก้ไขขั้นต่อไป จะเป็นการ Upgrade Hardware และ Software บางส่วนในเครื่องมือดังกล่าว
คำถามรวม
ถาม :
การจัดทำแผนฉุกเฉิน จำเป็นต้องทำทุกระบบงาน หรือไม่?
มีหลักเกณฑ์อะไรที่กำหนดว่าจำเป็นจะต้องจัดทำแผนฉุกเฉิน
ตอบ :
คุณไชยเจริญ : สำหรับ ปตท. แผนฉุกเฉินที่ต้องทำ, ต้องมี และ ต้องซ้อม เราเลือกตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
- ระบบที่เกี่ยวกับความปลอดภัย
- ระบบที่มีผลกระทบต่อลูกค้า
- ระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น ลิฟต์
คุณมานิตย์ : สำหรับธนาคารกรุงไทย ไม่ได้ทำทุกระบบงานเนื่องจากมีทรัพยากรจำกัด (เวลา, เงิน, คน) โดยจะเลือกทำเฉพาะระบบ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน (Mission Critical Application)
ถาม :
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ปัญหา Y2K จะทำให้ต้องหยุดบริการ ?
ตอบ :
คุณมานิตย์ : ให้ความเห็นว่า มีความมั่นใจพอสมควรว่า สามารถให้บริการได้เพราะมีการทดสอบถึง 4 ระดับ คือ
- Programmer
- User Acceptant Test
- Computer Audit
- Industry Wide Test
อย่างไรก็ตาม อาจมีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น หรือเกิดจากปัจจัยภายในนอกที่ควบคุม
ไม่ได้ แต่เชื่อว่าสาขาจะสามารถให้บริการได้ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาจากภายใน หรือภายนอก
เพราะว่าธนาคารมีแผนสำรองฉุกเฉิน
คุณไชยเจริญ : ในหลักการได้มีการเตรียมทั้งเรื่องคน , เงิน และ Resource อื่นๆ ของแผนฉุกเฉิน โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
- ทำงานอย่างปกติ คือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผ่าน Y2K แล้วสามารถใช้ได้เหมือนเดิม
- ทำให้ใกล้เคียงของเดิม แต่ลดระดับลง (Degrade Service)
- ทำให้ง่ายขึ้น (Simplify Service) เช่น ใช้กระดาษแทนระบบอัตโนมัติ
- ไม่บริการ (No Service) เฉพาะในเวลานั้นๆ
ถาม :
ตามความเห็นท่านวิทยากร คิดว่าควรเสนอให้ช่วงใกล้ๆ วันที่ 1 ม.ค. ค.ศ. 2000 เป็นวันหยุดสัก 1 สัปดาห์จะดีหรือไม่ ?
ตอบ :
คุณไชยเจริญ : ไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้ ทั้งในแง่ของ Normal Operation
และ Contingency Plan ตัวอย่างง่ายๆ เช่น PABX ได้มีการตรวจสอบมา
3 ครั้งแล้วตั้งแต่ปี 2539 แต่ในปี 2542 ปตท. เพิ่งตัดสินใจซื้อใหม่
ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่มองข้าม หรือมองไม่เห็น การหยุดอาจจะหยุดได้ แต่สำหรับของปตท.
ขณะนี้มีคำสั่งแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา Y2K ถือว่าเป็นหน้าที่จึงหยุดไม่ได้
คุณมานิต : ความคิดในเรื่องของวันหยุด ประเทศสิงคโปร์ก็ได้มีการพิจารณาอยู่
โดยจะประกาศให้วันทำงานวันแรกเป็นวันหยุด ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย คือ ดูว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง และอย่างน้อยจะมีเวลา
1 วัน ที่จะทำอะไรได้ สำหรับธนาคาร คงจะมีกลุ่มงานที่จะเฝ้าดู เพราะว่ามีประเทศที่สว่างก่อน และถ้ามีปัญหาก็จะมีปัญหาก่อนประเทศไทย