ปัญหาปี
ค.ศ. 2000 คืออะไร
เวลาเป็นเงินเป็นทอง
ดังนั้นการดำเนินงานทางธุรกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับเวลาคอมพิวเตอร์ทำการเก็บข้อมูลเวลา
เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลเวลาก็เปลี่ยนแปลงไป
ถ้ามีการบันทึกเวลา ก็หมายถึงบันทึกข้อมูลเวลานั้น
หน่วยของเวลามีเป็นวินาที นาที
ชั่วโมง วันที่ เดือน และปี
ในอดีต
การเก็บข้อมูลวันที่เก็บข้อมูลในรูปแบบ
YYMMDD เช่น 920131 ก็หมายถึง ปี ค.ศ. 1992
เดือนมกราคม วันที่ 31 การเก็บในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งเริ่มการใช้คอมพิวเตอร์
เพราะสมัยนั้นที่เก็บมีราคาแพง
การเก็บข้อมูลทางธุรกิจเป็นจำนวนพันจำนวนหมื่นเรคอร์ด
ถ้าเก็บแบบย่อจะทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ดังนั้นความคิดของคนในอดีตไม่ผิด
ทั้งนี้เพราะความจำเป็นต้องดำเนินการ
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาคอมไพเลอร์
เช่น โคบอล เพื่อการใช้งานทางธุรกิจ
โคบอลมีฟอร์แมตของวันที่เป็นแบบ
YY MM DD และเก็บข้อมูลแบบนี้มาตั้งแต่แรก
เช่น วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 ก็เก็บ
750225 ปัญหาที่เกิดขึ้นคือถ้าเป็นวันที่
1 มกราคม ค.ศ. 2000 โคบอลจะเก็บ 00010 ซึ่งทำให้ผิดความหมาย
เพราะจะซ้ำกับปี 1900
การเขียนโปรแกรมที่ใช้ปี
ค.ศ. เพียงสองหลักทำกันมานานแล้ว
การไม่ใส่ตัวเลขให้เต็มสี่หลักทำให้เวลาที่ปรากฎอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ขาดความเป็นจริงได้
เช่น เมื่อถึงเที่ยงคืนของวันที่
99/12/31 ก็จะกลับมาอยู่ที่ 00/01/01 ซึ่งค่าตัวเลขน้อยกว่า
ทำให้เวลาดูเสมือนย้อนถอยหลังไปหนึ่งร้อยปี
ในระบบงาน
MIS จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลวันที่เอาไว้
โดยเฉพาะเก็บกันเพียง YY/MM/DD ซึ่งกรณีเช่นนี้
ข้อมูลที่นำมาจัดเรียงเช่น วันที่
1 มกราคม 2000 ซึ่งเก็บเป็น 00/01/01 เมื่อจัดเรียงก็จะมีค่าน้อยกว่า
99/12/31 ซึ่งผิดความเป็นจริง
การคำนวณต่าง
ๆ ในองค์กรยังมีอีกมากโดยเฉพาะการคำนวณทางด้านการหาอายุ
การคำนวณระยะเวลาเพื่อ ใช้ในการคิดดอกเบี้ย
การคำนวณที่เกี่ยวกับระบบบัญชีหลายอย่างต้องใช้เวลาเป็นองค์ประกอบสำคัญ
งานคำนวณเหล่านี้จะเป็นปัญหาหมดสิ้น
|