Welcome to The Official Website of The National Y2K Coordination Committee
Y2K Newsletter

ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาปี 2000 ของ กฟผ.


Logoการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาปี 2000 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2540 โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระบบหลักคือ ระบบคอมพิวเตอร์ (IT System) ระบบผลิตไฟฟ้า (Power Plant System) และระบบส่งกระแสไฟฟ้า (Transmission Control System) และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานศึกษาปัญหา จัดทำแผนงานและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ สถานภาพโดยรวมขณะนี้ทุกระบบอยู่ในขั้นตอนการแก้ไข (Renovation) และการทดสอบความถูกต้อง (Validation) ซึ่งทั้งสองขั้นตอนนี้จะทำไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือถ้าส่วนประกอบของฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ หรือระบบต่างๆ ที่พร้อมก็จะนำไปทดสอบทันที ทั้งนี้ทาง กฟผ. ได้กำหนดมาตรฐานการทดสอบการแก้ไขปัญหา Y2K (Y2K Compliant Test Standard) โดยอ้างอิงจาก British Standards Institution Definition และ Canadian Sanitation Supply Association Test Guideline อีกด้วย

         นอกจากนี้ทาง กฟผ. ยังได้ติดต่อขอความร่วมมือในการทดสอบระบบต่างๆ กับบริษัทคู่ค้าและองค์กรอื่นๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ กฟผ. เช่น ปตท. บริษัท EGCO บริษัท IPP การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการผลิต และระบบส่งไฟฟ้าจะดำเนินไปได้อย่างมั่นคงมีประสิทธิภาพ

         ความคืบหน้าขณะนี้ประมาณ 60-70% ตามแผนงาน คาดว่าจะสามารถประกาศความพร้อมได้ภายในเดือนมิถุนายน 2542 ใช้งบประมาณ ประมาณ 476 ล้านบาท

ผลกระทบต่อระบบงานของ กฟผ.

         ระบบหลักที่สำคัญ (Mission Critical System) ของกฟผ. ซึ่งอาจได้รับผลกรทบจากปัญหา Y2K คือ

1. ระบบผลิตไฟฟ้า

         จากการสำรวจ และประเมินปัญหาพบว่าอุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้า 91.80% ไม่ได้รับผลกระทบ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ แต่มีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลประวัติการเดินเครื่อง ซึ่งกำลังหาทางแก้ไขอยู่ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อีก 8.20%  (อยู่ในระหว่าง Warranty) บริษัทผู้รับผิดชอบกำลังดำเนินการตรวจสอบ และแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกันกับในส่วนของระบบผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน และที่ประเทศลาว

2. ระบบส่งไฟฟ้า

         ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้ามีอยู่ 4 ศูนย์ ซึ่งมีระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างโรงไฟฟ้ากับระบบส่งไฟฟ้าให้กับสถานีไฟฟ้าแรงสูง แต่ละสถานีจะมีระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า CCS, Billing/Tele Metering, Protective Relay, DFR  Fault Recorder> ควบคุม ปัจจุบันระบบ SCADA ได้ตรวจแก้ไขแล้ว ส่วนผลกระทบด้านการบันทึกข้อมูลจากระบบ DFR ที่ผิดพลาดกำลังเร่งดำเนินการแก้ไข

3. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีปัญหามีดังนี้

  • Mainframe - System Software ซึ่งเป็นบาง Software เท่านั้น แก้ไขโดยการ Upgrade Version หรือยกเลิกการใช้งาน
  • Application Package เกี่ยวกับงานด้านบัญชีการเงิน (WALKER) งานด้านบำรุงรักษา และพัสดุ  (MINICOM) ต้องทำการ Upgrade Version 
  • File Server/ PC 5,510 ระบบ บางส่วนมีปัญหา Y2K แต่อยู่ในระดับไม่รุนแรง สามารถใช้ Program  แก้ไข หรือ Upgrade BIOS/Operating System ส่วน Application Package และ Database System แก้ไขโดยการ Upgrade Version แต่บางส่วนจำเป็นต้องจัดหาเครื่องใหม่มาทดแทน
  • อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 201 รายการ  ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่ส่วนที่มีแก้ไขโดยการ Upgrade Firmware หรือ Software แต่จากการสำรวจและประเมินปัญหาพบว่าระบบ/อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจหลักด้านบริการไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นเพียงส่วนสนับสนุนให้สามารถดำเนินธุรกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีปัญหา Y2K ประมาณ 20% ส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้และ กฟผ. ได้ดำเนินการแก้ไขจนเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ความก้าวหน้าการแก้ไขของทั้ง 3 ระบบหลักคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้

  • ระบบผลิตไฟฟ้า แล้วเสร็จกว่า 65%
  • ระบบส่งไฟฟ้า แล้วเสร็จกว่า 85%
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แล้วเสร็จกว่า 69%

         ด้านแผนงานฉุกเฉิน (Contingency Plan) เริ่มวางแผนงานเดือนธันวาคม 2541 โดยเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้า และระบบส่งไฟฟ้า กฟผ. ได้แต่งตั้งทีมงานสำหรับวางแผนงานฉุกเฉินสำหรับ 2 ระบบนี้โดยเฉพาะ แผนงานประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนผู้รับผิดชอบการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีแผนงานพิเศษ ซึ่งจะมีข้อควรระวังและขั้นตอนที่จะต้องทำในช่วง Critical Dates เช่น วันที่ 31 ธันวาคม 2542 เมื่อทำแผนฉุกเฉินเสร็จ จำทำการ Simulate ทดสอบแผนงานในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2542 ส่วนการฝึกอบรมแผนงานจะมีขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2542 นอกจากนี้ยังได้ทำการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านไฟฟ้า และพลังงาน อันได้แก่ กฟน. กฟภ.และปตท. เพื่อทดลองระบบไฟฟ้าร่วมกัน และจัดทำแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อรองรับเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้น

line.GIF (5301 bytes)

[Y2K Center] [Y2K FAQ] [Y2K Services] [Y2K Tools] [Newsroom] [Publication] [Feedback]

Please send your comment to y2kcenter@nectec.or.th
Copyright ฉ 1998 NECTEC / NSTDA All Rights Reserved.
National Electronics and Computer Technology Center, National Science and Technology Development Agency.
Ministry of Science Technology and Environment